วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงงาน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


 ชื่อโครงงาน
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
 ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
ด.ญ จุฬาพรรณ   เจริญวงศ์  เลขที่ 15
ด.ญ.ธัญชนก     ลัทธิกุล      เลขที่ 16
ด.ญ. ธิดารัตน์     ขันทะ       เลขที่ 17
ด.ญ. สุณิสา     แซ่โซ้ง        เลขที่ 33
ด.ญ. ชุติกาญจน์  สุทธิชัย   เลขที่ 34
ด.ญ. ธัญญภรณ์     คำแดง  เลขที่ 36

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครู ปฏิญญา   พุทธานนท์


บทที่ 1

ที่มา และความสำคัญ     
                     ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ต่อทุกวงการโลก รวมทั้งวงการศึกษาของไทยด้วย และผลพวงที่ตามมาในแง่ของเทคนิค วิธีการเกี่ยวกับการศึกษา และกระบวนการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนไปจากกระบวนความรู้ต่างๆ และความสำคัญและความสนใจในการพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สุกแก่ผู้เรียนรู้และผู้ที่เรียนในทุกระดับซึ่งการศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนโดยการปรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากเกิดเหตุผลดังกล่าว ผู้จัดทำได้พัฒนาเว็บไซด์ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการนำเทคโนโลยีทางกาศึกษามาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเห็นว่าผู้ติดต่อสนใจหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเรียนรู้เร็วหรือช้าก็สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้เหมือนกัน

 วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ( Hardware )
2.เพื่อใช้เป็นสื่อในการศึกษา ให้กับผู้ที่สนใจ เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ( Hardware )

 ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
 สถานที่
           โรงเรียนแม่แตง


 วิธีดำเนินงาน

  •  คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
  •  ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ
  •  ศึกษาการสร้างเว็บไซต์ด้วยใช้โปรแกรม Adobe Dreamweaver , Adobe   Flash , sothink glanda , captivate จากเอกสารหรือเว็บไซต์ต่างๆ และจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
  •  จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
  •  จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บไซต์  เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  •  นำเสนอรายงานความก้าวหน้า ให้ครูที่ปรึกษาโครงงานได้ตรวจสอบ
  •  จัดทำเอกสารรายงาน โครงงานคอมพิวเตอร์
  •  ประเมินผลงาน โดยให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนผู้ที่สนใจร่วมประเมิน


 ประโยชน์ที่จะได้รับ
 1. ได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาเว็บไซค์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้จริง
 2. ได้นำเอาเทคดนดลยีสารสนเทศใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไปใช้ใน การศึกษาได้
 ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการพัฒนาในส่วนของเว็บแอปพลิเคชั่นให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
2. ควรมีการป้องกันข้อมูลมากกว่านี้
3.ควรสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ใช้มากกว่านี้ เช่นปรับรูปแบบให้มีความสนใจมากขึ้น

บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง


              การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) นี้ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
2. ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)
4. เว็บไซต์ (Website)
5. โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงาน


1.ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

                       การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราในหลายรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น ถ้าคุณกำลังดูทีวีอยู่หรือคุณกำลังรอรับใบเสร็จจากห้างร้าน คุณก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรือแม้แต่คุณกำลังรอสัญญาณไฟเขียวอยู่ตรงสี่แยก สัญญาณไฟก็ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ เช่นกัน กิจกรรมต่างๆนี้ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยแทบทั้งสิ้น ปัจจุบันพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทำให้มีขนาดและราคาลดลง ในขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้มี การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง หรือแม้กระทั่งการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อการพักผ่อน เพื่อการบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง
               ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้เราสามารถที่จะคัดเลือกคอมพิวเตอร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

  •       ความหมายของคอมพิวเตอร์

เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์

  •  ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์

               คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ ในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบ พลังเครื่องยนต์ไอนํ้าหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุคได้แก่
ยุคที่ 1 ยุคของหลอดสุญญากาศ
ยุคที่ 2 ยุคของทรานซีสเตอร์
ยุคที่ 3 ยุคของวงจรไอซี (IC หรือ Integrated Circuits)
ยุคที่ 4 ยุคของวิแอลเอสไอ
ยุคที่ 5 ยุคเครือข่าย (ยุคปัจจุบัน)




 3. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย หรือที่เราเรียกว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น หน่วยรับข้อมูล (input), หน่วยแสดงข้อมูล (output), หน่วยประมวลผล (processing unit), หน่วยความจำ (memory unit/storage unit) และอุปกรณ์อื่นๆ
      3.1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ดังนั้น ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งตามหน้าที่การทำงานของเครื่องได้ดังนี้ 

           1) หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
            
             2) หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) เป็นชิปเซตที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลภายใน ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม (Control Unit : CU) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส (Bus) ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่หลักคือ การคำนวณและและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ และ ตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสอบเงื่อนไข เก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า Register ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียว ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมซึ่งมีความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทำงานของโปรแกรมพร้อมกันหลายโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้เครื่องประมวลผลหยุดการทำงานในขณะที่มีการประมวลผลหนักๆ การเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบมีหน่วยประมวลผล 2 ชุด (two-processor) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้การประมวลผลมีเสถียรภาพ โดยหน่วยประมวลผลสามารถทำงานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสำรองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงานอีกตัวหนึ่งจะทำงานแทนโดยอัตโนมัติ

                3) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยอัตโนมัติโดยอาศัยชุดคำสั่งที่ป้อนสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะเก็บคำสั่งเหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลักเพื่อทำงานตามชุดคำสั่ง หน่วยความจำหลักประกอบด้วย หน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM) ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่งควบคุมการรับส่งข้อมูลพื้นฐาน คือ BIOS ซึ่งจะถูกกำหนดมาจากโรงงานผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)หน่วยความจำส่วนนี้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นส่วนที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล หลังจากคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่หน่วยความจำ ทำให้หน่วยความจำมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนหน่วยรับฝากข้อมูลแบบชั่วคราว ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลใหม่เสมอ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลในหน่วยความจำส่วนนี้จะหายไปหมด คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ในปัจจุบันควรจะเลือกใช้ RAM ชนิด ที่มี Parity SDRAM PC100 โดยมี RAM ไม่ตํ่ากว่า 128 MB เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมมีความละเอียดและความซับซ้อนในการประมวลผลหลายขั้นตอน กอปรกับโปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมมีขนาดใหญ่ และมีการต่อพ่วงอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเทปอ่านข้อมูล สำหรับอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ จึงทำให้ความต้องการหน่วยความจำหลักมีมากขึ้นและการประมวลผลแต่ละครั้งจะมีการใช้หน่วยความจำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

                4) หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit) เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนำข้อมูลกลับประมวลผลใหม่ และบันทึกข้อมูลซํ้าได้หลายครั้ง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วเก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงควรมีการบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล (Input/output Device) อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่
                
                 (1) ฮาร์ดดิสต์ (Hard Disk ) แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง(Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk) ปัจจุบันได้มีการผลิตฮาร์ดดิสต์วามจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐาน การเชื่อมต่อ IDE SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใช้ในงานประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากฮาร์ดดิสต์ที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quantum
                 (2) เทปคาร์ทริดจ (Cartridge Tape) เทปคาร์ทริดจ์ มีจุดเด่นตรงสามารถบันทึกข้อมูลซํ้าได้หลายครั้ง และมีความจุสูงถึงระดับกิกะไบต์ คือ ตั้งแต่ 1 กิกะไบต์ขึ้นไป สูงถึง 14 กิกะไบต์ มีลักษณะเทปคล้ายเทปคาสเซ็ท เป็นม้วนยาว 112 m ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่มีจำนวนมาก เช่น การสำรองข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึกข้อมูลดาวเทียม 
              (3) เครื่องอ่านและบันทึกข้อมูล ประเภท CD, DVD ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านและเขียนข้อมูลมีทั้งชนิดอ่านได้อย่างเดียว ซึ่งเรียกว่า Compact Disk Read Only Memory (CD-ROM) Digital Video disc/Digital Versatile Disc (DVD) และชนิดที่สามารถอ่านและ
เขียนได้ เรียกว่า CD-R, DVD-Rปกติแล้วการบันทึกข้อมูลลงซีดีจะบันทึกได้เพียงครั้งเดียว แต่มีเครื่องบันทึกซีดีที่ออกมารองรับการบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า CD - RW, DVD-RW สามารถลบข้อมูลในแผ่นและบันทึกใหม่ได้
                 (4) Floppy Disk แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน เคลือบด้วยสาร Polyester เป็น Mylar บางๆ บรรจุในซองพลาสติก มีขนาด 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44MB

               5) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล เป็นส่วนที่เชื่อมความสัมพันธ์และโต้ตอบระว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผลที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ ให้ความละเอียดของการแสดงผลได้ดีกว่าการแสดงผลออกทางสิ่งพิมพ์ แต่เราไม่สามารถจับต้องได้เราเรียกว่า Softcopy ส่วนการแสดงผลออกทางสื่อสิ่งพิมพ์ เรียกว่า Hardcopyเช่น แผนที่ แผนภูมิต่างๆ จัดพิมพ์ในรูปกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม

        (1) จอคอมพิวเตอร์ จอคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมควรใช้จอขนาดใหญ่ 20 นิ้วขึ้นไป หรือไม่ควรตํ่ากว่า 17 นิ้ว มีหลอดภาพชนิด Trinitron ซึ่งให้ความคมชัดของภาพได้ดี และความละเอียดในการแสดงผล 1600x1200 จุด ทำให้สามารถแสดงผลภาพได้ดี
         (2) เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดในการพิมพ์สูงกว่า และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด Dot matrix

  4. เว็บไซต์ (Website)
  •          ความหมายของเว็บไซต์ (Website)

               เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้นโฮมเพจ (Home Page)  www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้นโฮมเพจ (Home Page)

           โฮมเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตยสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย เว็บเพจ (Web Page)

          เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้
         
         เว็บไซต์ (Web Site) คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ ) โดยเรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่น http://www.geocities.com ,http://www.sanook.com, http://www.yahoo.comเป็นต้น สรุป เว็บไซต์ คือ ชื่อเรียกหรือที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการเว็บเพจ คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน
            4.2 ประเภทของเว็บไซต์(Website)
เว็บไซต์สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 8 ประเภทตามลักษณะของเนื้อหาและรูปแบบของเว็บไซต์ กลุ่มเว็บทั้ง 8 ประเภท

              1) เว็บท่า (Portal site)เว็บท่านั้นอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเว็บวาไรตี้ (variety web) ซึ่งหมายถึงเว็บที่ให้บริการต่างๆ ไว้มากมาย มักประกอบไปด้วยบริการเครื่องมือค้นหา ที่รวบรวมลิงค์ของเว็บไซต์ที่น่าสนใจไว้มากมายให้ได้ค้นหา รวมถึงบริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มีสาระและบันเทิงหลากหลายประเภท เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว ITเกม สุขภาพ หรืออื่นๆ
              2) เว็บข่าว (News site)เว็บข่าวมักเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยองค์กรข่าวหรือสถาบันสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่มีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ของตนอยู่เป็นหลัก เช่น สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หรือแม้กระทั่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ 
                  3) เว็บข้อมูล (Information site) เว็บข้อมูลนั้นเป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ตนเองขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของตนได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดแก่ประชาชนในสังคมอีกด้วย
                4) เว็บธุรกิจหรือการตลาด (Business/ Marketing site) เว็บธุรกิจหรือการตลาด เป็นเว็บไซต์ที่มักสร้างขึ้นโดยองค์กรธุรกิจต่างๆ มีจุดมุ่งหมายหลักในการประชาสัมพันธ์องค์กรและเพิ่มผลกำไรทางการค้า โดยเนื้อหาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเป็นการนำเสนอที่มีความน่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อผลกำไรทางธุรกิจนั่นเอง
                 5) เว็บการศึกษา (Education site) เว็บการศึกษามักเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เว็บการศึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เว็บที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงนั้น ได้แก่เว็บของสถาบันการศึกษา ห้องสมุด และเว็บที่ให้บริการการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่เรียกว่า อี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงเว็บที่สอนหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การทำเว็บ การทำอาหาร การถ่ายภาพ การเขียนโปรแกรม ฯลฯ
                   6) เว็บบันเทิง (Entertainment site) เว็บบันเทิงนั้นมุ่งเสนอและให้บริการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง โดยทั่วไปอาจนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการบันเทิงทั่วไป เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา ความรัก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขำขัน รวมถึงการให้บริการดาวน์โหลด โลโก้และริงโทนสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกด้วย เว็บประเภทนี้อาจมีรูปแบบที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟที่ตื่นตาตื่นใจ หรือใช้เทคโนโลยีมัลติมิเดียได้มากกว่าเว็บประเภทอื่น
            7) เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (None-profit organization site) เว็บประเภทนี้มักจะเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ที่มีนโยบายในการสร้างสรรค์ที่ช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลกำไรหรือค่าตอบแทน ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้ได้แก่ สมาคม ชมรม มูลนิธิ และโครงการต่างๆ โดยอาจมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อทำความดี สร้างสรรค์สังคม พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ปกป้องสิทธิมนุษยชน รณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่ หรืออาจรวมตัวกันเพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม
           8) เว็บส่วนตัว (personal site) เว็บส่วนตัวอาจเป็นเว็บของคนๆ เดียว เพื่อนฝูง หรือครอบครัวก็ได้ โดยอาจจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น แนะนำกลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น เขียนไดอารี่ประจำวัน นำเสนอผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เชี่ยวชาญหรือสนใจ โดยทั้งหมดนี้อาจทำเป็นเว็บไซต์หรือเป็นเพียงเว็บเพจหน้าเดียวก็ได้

5. โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงาน

           5.1 โปรแกรม Adobe Dreamweaver
Macromedia Dreamweaver เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ด้วยการสร้างเว็บเพจและเว็บแอพพลิเคชั่น ที่กำลังเป็นที่นิยมนำมาสร้างเว็บเพจในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่าย คุณสามารถที่จัดวางข้อความ รูปภาพ ตารางข้อมูล แบบฟอร์ม เป็นต้น ลงไปในเว็บเพจได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องใช้โค้ด HTML ใน Dreamweaver มีเครื่องมือมากมายให้ใช้ในการพัฒนาเว็บได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม และมีประสิทธิภาพสูง Dreamweaver มีเครื่องมือในการจัดการและบริหารเว็บ ไซท์ ที่ช่วยให้คุณจัดการกับ Site และไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับ Site ของคุณ เช่น สร้าง ลบ ย้าย และเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นต้น

          5.2 โปรแกรม Adobe Flash
เป็นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สร้างชิ้นงานกราฟิกที่พบเป็นส่วนมากบนเว็บไซด์ต่าง ๆ และสามารถพบชิ้นงาน Flash บน เกมส์ สื่อโฆษณาบนเว็บไซต์ อินเตอร์เฟสต่าง ๆ สร้างชิ้นงาน Interactive บนเว็บไซต์ การ์ตูนแอนิเมชันต่างๆ สร้างเว็บไซต์ได้สวยงาม และสร้างลูกเล่นต่าง ๆ สร้างเกมส์ (GAME)
           5.3 โปรแกรม Adobe Photoshop
Photoshop เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างและตกแต่งภาพที่มีชื่อเสียง และได้รับ ความนิยมมากที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติเด่นที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถจัดการกับไฟล์สารพัดชนิดที่ใช้ในงานประเภทต่าง ๆ ทั้งภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอล และภาพที่จะนำไปผ่านกระบวนการการพิมพ์ โปรแกรมมีความสามารถเป็นเยี่ยมในการแก้ไขตกแต่งภาพ และการสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษต่าง ๆ มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง
             5.4 โปรแกรม Sothink Glanda
เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างข้อความอักษร Flash ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อความเคลื่อนไหว ในลักษณะต่างๆ หลากหลายรูปแบบ อันจะทำให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจและสวยงามมากยิ่งขึ้น นอกจากการทำ effect ให้กับข้อความแล้ว ยังสามารถทำกับรูปภาพ ได้อีกด้วย และสามารถทำข้อสอบได้
            5.5 โปรแกรม Microsoft Word
เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างเอกสาร โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) หรือที่เรียกกันอย่างย่อ ๆ ว่า “เวิร์ด” (Word) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานเอกสารทั่วไป ตัวอย่างเช่น จดหมาย ใบปะหน้าแฟกซ์ ทำรายงาน หรือแม้กระทั่งหนังสือเป็นเล่มก็ตาม โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดเป็นหนึ่งในชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft Office)
             5.6 โปรแกรม Captivate
เป็นโปรแกรมสาหรับสร้างมัลติมีเดียบนเว็บ การจับภาพหน้าจอ การทำภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ โปรแกรม Captivate สามารถสร้างบทเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ สร้างข้อสอบ ได้อย่างดี โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่ง เพราะโปรแกรมมีคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้เลือกผ่านทางหน้าจอของโปรแกรม จึงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย เรียนรู้ได้เร็ว เหมาะสาหรับครู และผู้ที่มีหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร และสามารถ ส่งขึ้นเว็บ You tube ได้ทันที หรือจะทำเป็นไฟล์ PDF ก็ได้

บทที่ 3

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

          การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) มีวิธีการดำเนินโครงงานตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1.2 โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่
     1) โปรแกรม Adobe Dreamweaver
     2) โปรแกรม Adobe Flash
     3) โปรแกรม Adobe Photoshop
     4) โปรแกรม Sothink Glanda
    5) โปรแกรม Microsoft Word
    6) โปรแกรม Captivate

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

      2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
  2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่าง ๆ และจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
    2.3 ศึกษาการสร้างเว็บไชต์โดยใช้โปรแกรม Adobe Dreamweaver ,Adobe Flash , Sothink glanda , Captivate จากอกสาร และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เสนอเทคนิค วิธีการสร้าง
    2.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
  2.5 จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บไชต์ เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยสร้างบทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอ
  2.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าให้ครูที่ปรึกษาโครงงานได้ตรวจสอบ ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจ ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุงแก้ไขแก้ไขให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
   2.7 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
   2.8 ประเมินผลงานโดยให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนผู้ที่สนใจร่วมประเมิน

บทที่ 4

ผลการดำเนินโครงงาน
                
                การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) มีผลการดำเนินโครงงาน ดังนี้

              1. ผลการพัฒนาเว็บไซต์ (Website)
1.1 เปิดเว็บไซต์ http://www.kws.ac.th/comp จะปรากฏหน้าจอ 
ภาพที่ 1 หน้าจอเว็บไซต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ (Hardware)
ภาพที่ 2 MENU
   จากภาพที่ 2 ประกอบด้วยเมนู ดังนี้
1.แบบทดสอบก่อนเรียน
2.เนื้อหาบทเรียน
3.แบบทดสอบหลังเรียน
4.ใบความรู้
5.ใบงาน
            2. การทดสอบการพัฒนาเว็บไซต์
ในการทดสอบ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการทดสอบ โดยผู้จัดทำ ทดสอบการเลือกใช้เมนูต่าง ๆ การทำแบบทดสอบ การศึกษาเนื้อหา ข้อมูลที่นำมาทดสอบเป็นทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด
จากการทดสอบ พบว่าเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ที่ได้พัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานได้ครบความต้องการของผู้ใช้ คือ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาเนื้อหา ใบความรู้ ทำใบงาน และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้
             3. ผลการประเมินประสิทธิภาพ
ผลการประเมินประสิทธิภาพของการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าระดับประสิทธิภาพของกลุ่ม

จากตารางที่ 1 แบบประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับดี (X=3.92)
บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) นี้สรุปผลการดำเนินงานโครงงานและข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้
1. สรุปผลการพัฒนาเว็บไซต์
ผู้จัดทำได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 แบบทดสอบก่อนเรียน
1.2 เนื้อหาบทเรียน
1.3 แบบทดสอบหลังเรียน
1.4 ใบความรู้
1.5 ใบงาน
      2. การทดสอบการพัฒนาเว็บไซต์
ในการทดสอบ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการทดสอบ โดยผู้จัดทำ ทดสอบการเลือกใช้เมนูต่าง ๆ การทำแบบทดสอบ การศึกษาเนื้อหา ข้อมูลที่นำมาทดสอบเป็นทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด
จากการทดสอบ พบว่าเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ที่ได้พัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานได้ครบความต้องการของผู้ใช้ คือ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาเนื้อหา ใบความรู้ ทำใบงาน และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้
      3. ผลการประเมินประสิทธิภาพ
ผลการประเมินประสิทธิภาพของการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับดี 

           4. อุปสรรคในการทำโครงงาน
การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) และได้มีการทดลองใช้งานทำให้พบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1. รูปแบบตัวอักษรในโปรแกรม Captivate เมื่อ Publish แล้วตัวอักษรห่างกันมาก
2. การทำลิงค์ไฟล์ PDF ในโปรแกรม Dreamweaver เมื่อลิงค์แล้วไม่สามารถเลือก
เมนูหลักของเว็บไซต์ได้ ต้องใช้ปุ่ม Back
           5. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาต่อ
1. ควรมีการเพิ่มเนื้อหาที่มีความหลากหลายให้มากกว่านี้
2. ควรเพิ่มแบบทดสอบให้มากกว่านี้



บรรณานุกรม

            ความสำคัญของคอมพิวเตอร์.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://ku-scmicro36bkk.tripod.com/0.0.htm (วันที่สืบค้น : 2 สิงหาคม 2555). นิชนอภา อรรถพร. การสร้างเว็บบล็อก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.slideshare.net/nitnipa/ss-9209972 (วันที่สืบค้น : 2 สิงหาคม 2555). ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
:http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm(วันที่สืบค้น : 6 สิงหาคม 2555).
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. “การพัฒนาการศึกษาไทยสองทศวรรษหน้า”, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช.9 (กันยายน-ธันวาคม 2539), 123-166.
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Hardware. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index01.htm(วันที่สืบค้น: 7 สิงหาคม 2555




























1 ความคิดเห็น:

  1. The 11 best slot machines in Las Vegas - Mapyro
    Which machines 전라남도 출장마사지 are worth picking 청주 출장마사지 up at best? · 구리 출장샵 Best 부산광역 출장마사지 Slot Machine Machines in Las Vegas · Best Slot Machines in Vegas 전라남도 출장안마 · Best Slot Machines in Las Vegas · Best Slot Machines in Las Vegas · Best

    ตอบลบ